แบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันควรมีข้อกำหนดอย่างไร?
แบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันคือหนังสือสัญญายืมเงินที่ผู้กู้ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้เงิน โดยเนื้อหาใจความของแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันมีเงื่อนไขที่ไม่ต่างจากแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพียงแต่ผู้ปล่อยกู้ต้องระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมไปว่าหากผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามกำหนด ผู้กู้ยินดีที่จะมอบหลักประกันซึ่งได้แก่… ทั้งนี้ สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันมีข้อดีอยู่อย่างหนึ่งคือสร้างความสบายใจให้กับผู้ปล่อยกู้ เพราะอย่างน้อยหากผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ก็ยังมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าพอ ๆ กับวงเงินที่ปล่อยให้ผู้ปล่อยกู้ได้เอาไปขายทอดตลาดต่อได้ ดังนั้น หากท่านใดที่กำลังปล่อยเงินกู้ในปี 2567 แล้วต้องการให้มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ท่านควรทําสัญญายืมเงินที่มีเงื่อนไขดังที่กล่าวมาข้างต้น หรือสามารถดูตัวอย่างของแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันอื่น ๆ ได้เพิ่มเติมแล้วจึงนำมาปรับใช้กับสัญญายืมเงินของตน
แบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกัน เอกสารสำคัญในการฟ้องร้องผู้กู้
เอกสารสาระสำคัญที่ผู้ปล่อยกู้สามารถฟ้องร้องผู้กู้ได้ดีที่สุดคือแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกัน เพราะในแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันมีรายละเอียดข้อกำหนดไว้เป็นหลักฐานอย่างชัดเจน ซึ่งถ้าใครคิดจะปล่อยเงินกู้สามารถดูตัวอย่างของสัญญายืมเงินได้ผ่านทางออนไลน์ โดยท่านจะเห็นตัวอย่างสัญญากู้เงินประเภทมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหลายแบบ ให้ท่านเลือกแบบใดมาก็ได้ที่มีสาระสำคัญครอบคลุม ในทางกลับกัน หากผู้ปล่อยกู้ร่างแบบฟอร์มสัญญายืมเงินของปี 2024 ไม่ถูกต้อง หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือไม่ได้มีแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกัน อาศัยสัญญาปากเปล่าและความไว้ใจกันเท่านั้น แบบนี้นอกจากท่านจะไม่ได้เงินคืนแล้วมีหวังยังไม่สามารถฟ้องร้องผู้ขอกู้ได้อีกด้วย เพราะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองไม่ว่าจะปล่อยเงินกู้ให้กับคนสนิทมากแค่ไหนก็ตาม ควรทําสัญญายืมเงินซึ่งกันและกันจะดีที่สุด
เพราะเหตุใดแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันจึงปลอดภัยกว่าสัญญาแบบไม่มีหลักทรัพย์
แบบฟอร์มสัญญายืมเงินหรือหนังสือสัญญายืมเงินโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สัญญายืมเงินแบบไม่มีหลักทรัพย์ และแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกัน อนึ่ง กล่าวได้ว่าแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันมีความปลอดภัยกว่าแบบฟอร์มสัญญายืมเงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ เนื่องจากหากผู้กู้ไม่มีเงินมาชำระตามเวลาที่กำหนดทั้งในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ย ผู้ปล่อยกู้ก็ยังมีสินทรัพย์ที่เอามาเป็นหลักประกัน ซึ่งควบคุมความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แนะนำว่าในแบบฟอร์มสัญญายืมเงินควรมีการลงลายมือชื่อทั้งผู้กู้ ผู้ปล่อยกู้ และพยานอย่างน้อย 2 คน เพื่อที่จะได้ทำให้แบบฟอร์มสัญญายืมเงินดูมีความน่าเชื่อถือและไม่สามารถหนีความผิดได้ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโกง อย่างไรก็ตาม สำหรับฝ่ายผู้กู้เองควรดูข้อกำหนดรวมถึงศึกษาเงื่อนไขของเอกสารให้ดีก่อนทําสัญญายืมเงิน เพราะมีแหล่งเงินกู้นอกระบบหลายแห่งพยายามเขียนแบบฟอร์มสัญญายืมเงินแบบมีหลักประกันให้ตัวเองได้ผลประโยชน์และเอาเปรียบผู้กู้มากจนเกินไป