สารบัญ
“สินเชื่อฟื้นฟู” สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ พร้อมช่วยเหลือสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้ดีขึ้น 2567 (2024)
เนื่องด้วยประเทศไทยเราเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ทำให้หลายภาคส่วนได้รับผลกระทบทางการเงิน หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งหากคุณเป็นอีกคนที่กำลังประสบปัญหาอยู่ อยากสร้างสภาพคล่องให้ดียิ่งขึ้นเราขอแนะนำสินเชื่อฟื้นฟู ส่วนใครเพิ่งเคยได้ยินลองมาศึกษาไปพร้อม ๆ กับเราได้
วัตถุประสงค์ในการปล่อยมาตรการ “สินเชื่อฟื้นฟู” 2567 (2024)
ต้องบอกก่อนว่าสินเชื่อฟื้นฟูเป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ Soft Loan เพื่อรองรับธุรกิจการท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่เพียงพอจึงเกิดเป็นมาตรการสินเชื่อธุรกิจขึ้น เพิ่มศักยภาพให้การมีอยู่ของธุรกิจต่อไป ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเดินหน้าต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ คุณไม่สามารถนำวงเงินสินเชื่อมาผ่อนจ่ายหนี้กับสถาบันการเงินใดได้ โดยสินเชื่อฟื้นฟู ธปท มุ่งเน้นในเรื่องของการกระจายออกไปให้เป็นวงกว้างกับทุก ๆ ธนาคารแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท กู้ยืมได้ทั้งธุรกิจที่ไม่เคยมีวงเงินกับสินเชื่อระบบธนาคาร และมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคาร
มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ผู้สนใจต้องรู้ 2567 (2024)
มาตรการของสินเชื่อฟื้นฟูนี้นั้นกำหนดวงเงินให้กับลูกหนี้เดิมสามารถกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนด และลูกหนี้ใหม่ขอกู้วงเงินได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท ระยะเวลาสินเชื่อมีการผ่อนจ่ายหนี้ 5 ปี (60 เดือน) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อแบ่งออกเป็น 2 ปีแรกกำหนดต่อปีไม่เกิน 2% ส่วนปีที่เหลือกำหนดให้ต่อปีไม่เกิน 5% (6 เดือนแรกรัฐบาลช่วยชดเชยออกค่าดอกเบี้ยให้)
คุณสมบัติผู้ประกอบการที่ต้องการขอสินเชื่อฟื้นฟู 2567 (2024)
ใครที่ต้องการขอสินเชื่อต้องมีคุณสมบัติ ได้แก่ เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีธุรกิจหรือสถานประกอบการในประเทศไทย ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ยกเว้นกับที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI) กรณีเป็นลูกหนี้ใหม่ต้องไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใดเลย กรณีลูกหนี้เดิมมีวงเงินจากสถาบันการเงินได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท และต้องไม่เป็นลูกหนี้ของ NPL ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2562 เป็นต้นไป ถ้ามีคุณบัติพร้อมก็เตรียมสมัครสินเชื่อทุก ๆ ธนาคารได้เลย
สิ่งที่ผู้ประกอบการขอสินเชื่อฟื้นฟูต้องจ่าย 2567 (2024)
สิ่งที่เราต้องจ่ายมีด้วยกัน 2 อย่าง คือดออกเบี้ยสินเชื่อ แบ่งเป็น 2 ปีแรก และปีต่อมารวม 5 ปีตามรายละเอียดที่บอกไปข้างต้น และค่าธรรมเนียม ที่กำหนดให้เฉพาะค่าธรรมเนียมการค้ำประกกันที่จ่ายบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) ที่ต้องเสียต่อปีของวงเงินค้ำประกัน 1.75% และโดยรวมของวงเงินที่ค้ำประกัน 3.5%สำหรับธนาคารที่สามารถขอสินเชื่อฟื้นฟูนั้น จริง ๆ แล้วได้หมดเลย เพียงค้นหาออนไลน์พิมพ์ว่า ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูรับรองว่าขึ้นมาให้พร้อม ทั้ง กสิกรไทย กรุงไทย กรุงเทพ ไทยพาณิชย์ ฯลฯ ชื่นชอบสถาบันการเงินใดก็สมัครได้ทันที อย่างไรแล้วสินเชื่อฟื้นฟูก็ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ล้มจากถัยร้ายอย่างโควิด-19ได้ดีเอามากๆ ช่วยรักษาสภาพทางการเงินให้กลับมาเดินได้อย่างสะดวกจากผู้ให้บริการที่ถูกกฎหมายอย่างแน่นอน
อัพเดทวันที่ 3 เมษายน 2567